วันจันทร์ที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2554

เครื่องปั้นดินเผา หมู่บ้านเหมืองกุง


ประวัติและความเป็นมาเครื่องปั้นดินเผา บ้านเหมืองกุง
ประวัติบ้านเหมืองกุง ในอดีตก่อนหน้าที่จะเกิดชุมชนแห่งนี้บริเวณดังกล่าวเป็นที่ราบเชื่อมระหว่างเมืองเชียงใหม่กับชุมชนโบราณที่ตั้งอยู่ทางด้านใต้หลายแห่ง เช่น เวียงดัง เวียงเกาะ เวียงแม เวียงท่ากาน เวียงมโน เวียงกุมกาม ตลอดไปจนถึงแคว้นหริกุญไชยฯ หากประมาณอายุของหมู่บ้านแห่งนี้คาดว่าคงเริ่มก่อตั้งขึ้นไม่เกินสมัยพระเจ้ากาวิละครองเมืองเชียงใหม่( พ.ศ.2325-2356 ) ในอดีตชาวบ้านเหมืองกุงทำเครื่องปั้นดินเผาเฉพาะที่เป็นน้ำต้นและน้ำหม้อ เพื่อใช้ในครัวเรือนและนำไปใช้ในพิธีกรรมนำไปทำบุญและหากมีเหลือก็นำไปแลกเปลี่ยนหรือขายให้กับชาวบ้านที่อยู่ใกล้เคียง นอกจากนี้ชาวล้านนาได้ตั้งหม้อน้ำที่ชานเรือนหรือหน้าบ้านเพื่อสัญจรไปมาโดยจะเปลี่ยนหน้าน้ำใหม่ในวันสงกรานต์
นอก จากนี้ยังมีการใช้น้ำต้นในการรับแขกและถวายพระซึ่งประเพณีเช่นนี้จึงทำให้ เกิดการผลิตเครื่องปั้นดินเผาที่สำคัญของที่นี่ คือ หม้อน้ำ และน้ำต้นปัจจุบันได้มีการผลิตเพื่อขายมากขึ้น กล่าวคือ มิได้ขายเฉพาะในกลุ่มเล็กๆ เท่านั้น แต่มีการทำเพื่อส่งขายทั่วไปฉะนั้นการทำเครื่องปั้นดินเผาเหมืองกุง จึงมีการนำเทคนิควิธีการสมัยใหม่เข้ามาช่วยในการผลิตแต่การผลิตในรูปแบบดั้ง เดิมก็ยังคงมีให้เห็นกันทั่วไปในหมู่บ้านแห่งนี้เพราะตลาดส่วนใหญ่ยังมีความ ต้องการ และยังคงมีการสืบทอดวิธีการผลิตแบบดั้งเดิม ซึ่งถือเป็นจุดเด่นสำคัญของเครื่องปั้นดินเผาหมู่บ้านเหมืองกุง   
          หมู่บ้านเหมืองกุงได้รับการคัดเลือกให้เป็นหมู่บ้านOTOPต้นแบบ ของจังหวัดเชียงใหม่เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2548 ทำให้เป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยวตลอดจนมีหน่วยงานต่างๆ เข้ามาศึกษาดูงานอย่างต่อเนื่อง
วัสดุ อุปกรณ์ ขั้นตอนวิธีการทำเครื่องปั้นดินเผา
วิธีการหมักดินเหนียว
                1.นำดินเหนียวไปตากให้แห้ง ประมาณ 1วัน
          2.นำดินเหนียวที่แห้งแล้วไปปั่นให้ละเอียด
3.เมื่อปั่นดินเหนียวเสร็จแล้วก็นำไปร่อนเพื่อเอาทรายเม็ดใหญ่ออก ถ้าไม่นำเม็ดทรายออกเวลาปั้นดินเหนียวจะมีรอยผุ
4.นำดินเหนียวไปหมักโดยต้องผสมน้ำเพื่อให้ดินเหนียวมากขึ้น ใช้เวลาในการหมัก 1 วัน
5.เมื่อนำดินเหนียวขึ้นจากอ่างหมักดินแล้วนำดินเหนียวเข้าเครื่องเพื่อทำการอัดดิน
6.นำถุงพลาสติกห่อดินไว้และสามารถนำมาใช้งานได้เลย
สีจากดินแดง
            ดินแดงนำมาจาก อำเภอดอยสะเก็ด ดินแดงจะอยู่ตามข้างทางเราสามารถขุดมาได้
วิธีการผสมสีจากดินแดง
            1.นำมาร่อนเพี่อเอาเศษทรายออก และต้องร่อนจนระเอียด
          2.นำมาผสมน้ำและน้ำมัน ใช้งานได้เลย
อุปกรณ์ ใช้ในการทำเครื่องปั้นดินเผา ภาชนะใส่อาหากระต่าย
            1.ที่วัดขนาด                          2.สีจากดินแดง
3.ผ้าผืนยาว สั้น                    4.ฟองน้ำ
5.สายเอ็น                              6.ดินเหนียว
7.ไพ่  สำหรับทำให้เครื่องปั้นเรียบ                8.กระเบื้องรองดินเหนียว
วิธีการทำ
1.เตรียมดินสำหรับการปั้น
2.นำกระเบื้องมาวางบนเครื่องปั้นใช้สำหรับรองดินเหนียว
3.ทำการปั้นโดยใช้เครื่องปั้นดินเหนียวใช้เครื่องมือตกแต่งให้เป็นรูปทรง
4.เมื่อปั้นเสร็จแล้วทำการเคลือบสีให้กับเครื่องปั้น
5.นำสายเอ็นมาตัดด้านล่างของเครื่องปั้นเพื่อให้หลุดออกจากกระเบื้อง
6.นำเครื่องปั้นดินเหนียวที่ปั้นเสร็จไปตากให้แห้งเพื่อรอการเข้าเตาเผา
 
วิธีการเผาเครื่องปั้น
ข้อดีสำหรับการเผาเครื่องปั้นก็คือ ทำให้เครื่องปั้นแข็งแกร่ง ทนทาน กันการไม่แตกหักง่าย
1.นำเครื่องปั้นใส่ในเตาเผา
2.จุดไฟนำถ่านและฟืนใส่ลงไปเรื่อยๆ เพื่อให้ไฟมีความร้อนสูงเพื่อจะได้เผาเครื่องปั้นให้มีความแข็งแกร่ง
 3.รอประมาณ 3 วัน ถึงจะสามารถนำเครื่องปั้นออกได้
ข้อมูลของปราชญ์ชาวบ้าน นายศรีไว บุญเติง        ทำหน้าที่ในการเผา
นางสา      จิราวรรณ    ทำหน้าที่ในการขัดเงา
นายจันทร์ สืบสุยะ       ทำหน้าที่ในการปั้น
นางกัลยา  สุจิดยะ         ทำหน้าที่ในการวาดลาย
นางฟองแก้ว  กุนามณี   ทำหน้าที่ในการปั้นแบบโบราณ
นายปรีชา  สายอมร       ทำหน้าที่ในการปั้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น