วันอาทิตย์ที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2554

การแกะสลักไม้บ้านทากาศ

การแกะสลักไม้ ถือว่าเป็นงานศิลปกรรมที่เก่าแก่ประเภทหนึ่ง ซึ่งเชื่อกันว่ามีมาตั้งแต่ สมัยมนุษย์ ดึกดำบรรพ์ รู้จักใช้เครื่องมือตัดหินขุดเจาะและถากไม้ให้มีรูปทรงตามที่ต้องการ ทั้งในด้านประโยชน์ใช้สอยและความงาม
งานแกะสลักไม้จามจุรีเป็นงานฝีมือของชาวบ้านนาห้า อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน เกิดจากการเห็นคุณค่าของศิลปะล้านนา ที่ได้สบทอดกันมาอย่างยาวนาน  ชาวบ้านจึงนำภูมิปัญญาชาวบ้านที่มีอยู่มาเผยแพร่ และสร้างรายได้โดยการจัดกลุ่มของคนในชุมชน เพื่อเผยแพร่กระบวนการแกะสลักไม้ ให้แก่คนในชุมชนได้มีความรู้เหกี่ยวกับการแกะสลักไม้ และนำความรู้ที่ได้รับมาสร้างรายได้ให้แก่ชุมชน 
รูปแบบการแกะสลักส่วนใหญ่เป็นองค์พระพุทธรูป ศิลปะล้านนา และสิ่งตกแต่งฝาผนัง งานฝีมือเหล่านี้เป็นงานผีมือของกลุ่มชุมชน ที่ร่วมกันทำขึ้นเป็นเอกลักษณ์ของชุมชน ที่สืบทอดกันมาอย่างยาวนาน 
ไม้จามจุรีเป็นไม้ที่มีความอ่อน เนื้อไม้สวยทางชุมชนได้นำไม้จามจุรีมาเป็นวัสดุซึ่งนำมาตัดเป็นแผ่นสี่เหลี่ยมผืนผ้าโดยใช้เลื่อยวงเวียน ขนาดความหนา 1 นิ้ว ความกว้าง 16 นิ้ว ความยาว 20 นิ้ว จากนั้นนำกบใสมาใสบนพื้นไม้ให้เรียบ เพื่อลดความหยาบของพื้นไม้เมื่อพื้นไม้เรียบ นำแบบลายที่ต้องการของลูกค้า นำมาทาบบนแผ่นไม้ แล้ววาดลงบนแผ่นไม้ ส่วนมากจะเป็น ลายไทย พระพุทธรูป  เมื่อเราได้ แบบที่ต้องการ จึงนำค้อนและสิ่วที่ใช้ในการแกะเส้นขอบให้เป็นเส้นร่องลึก ต่อจากนั้นใช้สิ่วหัวแบนแกะให้เป็นรูปทรงนูนต่ำ สูง เพื่อให้เกิดลักษณะลวดลายขึ้นให้เป็นรูปร่างตามแบบที่วางไว้ นำสิ่วหัวแบนใหญ่มาแกะผิวไม้ให้เรียบและเนี่ยนขึ้น เมื่อผ่านกระบวนการแกะสลักแล้ว นำไม้ไปขัดเงา เมื่อผิวไม้เรียบแล้วนำไปอบแห้งในเตาอบเป็นเวลา 1 ชั่วโมง
ไม้ที่ผ่านกระบวนการวิธีแกะสลัก ทางชุมชนได้นำผลิตภัณฑ์ส่งร้านค้า เพื่อทางร้านนำไม้ที่แกะสลักไปลงสี ทางร้านจะนำสินค้าที่ได้ ส่งขายต่างประเทศ เป็นการสร้างรายได้ให้แก่ชุมชน 

การแกะสลักไม้สามารถแบ่งออกได้ 4 ประเภท คือ

1. การแกะสลักรูปลายเส้น เป็นการเซาะร่องตามลวดลายของเส้นให้มีความหนักเบาเท่ากันตลอด ทั้งแผ่น มักใช้ในการแกะแม่พิมพ์ไม้
2. การแกะสลักรูปนูนต่ำ เป็นการแกะสลักภาพให้นูนสูงขึ้นจากแผ่นพื้นของไม้เพียงเล็กน้อยไม่ แบนราบเหมือนภาพลายเส้นใช้แกะสลักลวดลายทั่วไป ส่วนมากเป็นลวดลายประกอบอาคาร สถาปัตยกรรมต่างๆ โบสถ์ วิหาร เครื่องเรือน หรือประกอบรูปแบบลอยตัว
3. การแกะสลักรูปนูนสูง เป็นการแกะสลักภาพให้นูนสูงขึ้นมาเกือบเต็มตัวมีความละเอียดของรูป มากกว่าแบบนูนต่ำ ใช้แกะลวดลายประกอบงานทั่วไป เหมือนรูปนูนต่ำ
4. การแกะสลักรูปลอยตัว เป็นการแกะสลักไม้ที่มองเห็นได้รอบด้าน มักแกะเป็นพระพุทธรูป รูปคน สัตว์ หรือรูปตามคตินิยม ฯลฯ

เครื่องมือที่ใช้ในการแกะสลัก
                  ไม้ ไม้ที่นำมาแกะสลัก คือ ไม้จามจุรี เป็นไม้ที่ไม่แข็งเกินไป มีลายไม้สวยงาม สามารถแกะลายต่างๆได้ง่าย หดตัวน้อย ทนทานต่อสภาพดินฟ้าอากาศและปลอดภัยจากปลวก มอดและแมลง ไม้ที่นำมาทำการแกะสลักจะ ต้องไม่มีตำหนิ เพราะจะทำให้งานชิ้นนั้นขาดความสวยงาม
                ค้อนไม้ เป็นค้อนที่มีลักษณะคล้ายตะลุมพุกเล็กๆ ทำจากไม้เนื้อแข็งเช่น ไม้แดง ไม้ชิงชัน ค้อนไม้จะเบา และไม่กินแรงเวลาใช้งานและช่วยรักษาด้ามสิ่วให้ใช้งานได้นานอีกด้วย
                สิ่ว เป็นเครื่องมือที่สำคัญที่สุดในการแกะสลักมีหลายชนิดได้แก่ สิ่วขุด สิ่วฉาก สิ่วขมวด สิ่วเล็บมือ สิ่วทำ จากเหล็กกล้าที่แข็งและเหนียว ที่สำคัญคือจะต้องลับให้คมอยู่เสมอ
                 มีด เป็นมีดเล็กๆ ปลายแหลม ใช้แกะลายเล็กๆ หรือแกะร่อง
                 เลื่อย ใช้ในการเลื่อยไม้ส่วนที่ไม่ต้องการออกไป เพื่อขึ้นรูปหรือขึ้นโครงของงาน
                บุ้งหรือ ตะไบ ใช้ถูตกแต่งชิ้นงานในขั้นตอนหลังจากแกะสลักแล้ว กระดาษทราย ใช้ขัดตกแต่งชิ้นงานหลังจากแกะสลักแล้ว
                 กบไสไม้ ใช้ไสไม้ให้เรียบ ก่อนลงมือแกะหรือตกแต่งอื่นๆภายหลัง
                 สว่าน ใช้เจาะรูไม้เพื่อแกะหรือฉลุไม้
                  แท่นยึดหรือปากากาจับไม้ ใช้ยึดจับไม้
                  กระดาษทรายใช้ขัดเพื่อให้ไม้มีความเรียบมากขึ้น
                 เครื่องมือประกอบอื่นๆ ได้แก่ ไม้บรรทัด ดินสอ กระดาษลอกลาย กระดาษแข็งทำแบบลาย วัสดุตกแต่ง ได้แก่ ดินสอพองแลกเกอร์ แชลแลก น้ำมันลินสีดทินเนอร์ สีทาไม้

 
ขั้นตอนการทำ
1.นำไม้จามจุรีมาตัดเป็นแผ่นสี่เหลี่ยมผืนผ้าโดยใช้เลื่อยวงเวียน ขนาดความหนา 1 นิ้ว ความกว้าง 16 นิ้ว ความยาว 20 นิ้ว

2.นำกบใสมาใสบนพื้นไม้ให้เรียบ เพื่อลดความหยาบของไม้

3.นำแบบลวดลายที่ลูกค้าต้องการ นำมาทาบบนแผ่นไม้ แล้ววาดลงบนแผ่นไม้


4.นำค้อนและสิ่วที่ใช้ในการแกะเส้นขอบให้เป็นเส้นร่องลึก ตามลอยเส้นที่วาด

 
5.ใช้สิ่วหัวแบนแกะให้เป็นรูปทรงนูนต่ำ สูง เกิดลักษณะลวดลายขึ้นให้เป็นรูปร่างตามแบบที่วางไว้


6.นำสิ่วหัวแบนขนาดใหญ่มาแกะบนผิวไม้เพื่อให้ผิวเรียบ และเนียนขึ้น

7.นำไม้ไปขัดเงาโดยกระดาษทรายเบอร์ละเอียด


8.นำไม้ที่ผ่านการขัดเงาไปอบแห้งเป็นเวลา 1 ชั่วโมง

ผลิตภัณฑ์ชิ้นงาน

ผู้ให้สัมภาษณ์



นาย ไพรวัน หล้าติ๊บ 
อายุ 47 ปี อยู่บ้านเลขที่ 57 หมู่ 7 ตำบล ทากาศ อำเภอ แม่ทา จังหวัดลำพูน 51170

















ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น